วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีแห่งมนุษย์สัมพันธ์

1. ทฤษฎีวัวสองตัว ( TWO Cow Theory )       ตามธรรมชาติของคน ถ้าอยู่คนเดียวก็มักจะเรื่อยเฉื่อยไปเรื่อย ๆ ไม่มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากแข่งขัน เปรียบเสมือนวัวที่ยืนกินหญ้าอยู่ในทุ่งที่อยู่ในลักษณะที่เรียกว่าเคี้ยวเอื้อง ไม่แสดงอาการรีบร้อน แต่ถ้ามีวัวตัวใดตัวหนึ่งเดินผ่านมาและทำท่าจะกินหญ้าในบริเวณนั้น วัวตัวที่ยืนอยู่ก่อนจะแสดงอาการรีบร้อนทันที จากที่กินช้าก็เป็นกินเร็วขึ้นเพื่อแข่งกับวัวตัวใหม่
 
2. ทฤษฎีแรงจูงใจของ เอลตัน เมโย
    1) เชื่อว่าในการบริหารองค์การนอกจากจะยึดมั่นในผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้งแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะทำให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ นั่นคือตัวบุคคล
    2) กรที่จะตั้งระเบียบแบบแผนขององค์การไว้ โดยไม่พิจารณาถึงตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติเลยย่อมไม่ได้ผลเสมอไป เพราะผู้ปฏิบัติงานเป็นมนุษย์ ย่อมต้องมีความรู้สึกมีอารมณ์ และมีความนึกคิดเป็นส่วนตัว ดังนั้นในการบริหารงานจึงต้องนำทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์มาช่วย
    3) แนวความเชื่อพื้นฐาน - คนเป็นสิ่งมีชีวิตจิตใจ ขวัญ กำลังใจและความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
        - ขวัญเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน เงินไม่ใช่สิ่งล่อใจที่สำคัญเพียงอย่างเดียว รางวัลทางใจมีผลต่อการทำงานสูง
        - ปริมาณการทำงานของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพเพียงอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมด้วย
        - รางวัลทางใจมีผลต่อการทำงานมากกว่าทางเศรษฐทรัพย์ โดยเฉพาะพนักงานชั้นสูง
        - การแบ่งแยกการทำงานตามลักษณะเฉพาะ มิได้มีผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเสมอไป
        - อิทธิพลของกลุ่มมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

      3. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยต์ ( Sigmunnd Freud )
       ฟรอยต์ เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
       1) จิต แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ - จิตไร้สำนึก( Unconscious ) - จิตใต้สำนึก ( Subconscious ) - จิตใต้สำนึก ( Conscious )
        2) แรงขับพื้นฐาน มี 3 ชนิด คือ - แรงขับที่จะดำรงชีวิตอยู่ - แรงขับที่จะทำลาย - แรงขับทางเพศ
        ฟรอยต์ แบ่งโครงสร้างทางจิตของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ระบบ คือ
        Id    - เป็นความต้องการที่จะแสวงหาความสุขความสบายให้กับตนเองไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ
        Ego - เป็นความต้องการใช้เหตุผลและศีลธรรมเข้ามาร่วมพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ของคนเรา
        Super ego   - ได้แก่ มโนธรรม วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงความเสียสละต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ตนเองสงบสุข
       4. ทฤษฎีของมาสโลว์ ( Abraham Maslow )
       มาสโลว์แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ เป็น 5 ขั้น
      1. ความต้องการด้านร่างกาย ( อาหาร ที่อยู่ อาศัย ยารักษาโรค การพักผ่อน ) 85 %
      2. ความต้องการความปลอดภัย ( ความปลอดภัยทางด้านร่างกาย - ความปลอดภัยทางด้านเศรษฐกิจหรือองค์กร ) 70 %
      3. ความต้องการทางสังคม ( ความรัก ความเป็นเจ้าของ ความปรารถนาที่จะมีเพื่อนพ้อง มีสถานภาพทางสังคมสูงขึ้น ) 50 %
      4. ความต้องการทางเกียรติยศ ชื่อเสียง การยกย่องนับถือ ( ความเด่นในสังคม ความสำเร็จ ความรู้ความสามารถ ) 40 %
      5. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด ( เป็นขั้นสูงสุด ) 10 %

 5. ทฤษฎีการจูงใจของ เฮอร์เบิร์ก ( Frederick Herzberg )
         เฟรเดอริก เฮอร์เบิร์ก ได้สร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อลบล้างความเชื่อที่ว่า เงิน เป็นเพียงสิ่งเดียวที่กระตุ้นให้คนอยากทำงาน สิ่งที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนอยากทำงาน ได้แก่ 
                1. องค์ประกอบที่กระตุ้นให้เกิดความพอใจในการทำงาน
                              1) ความสำเร็จของงาน
                              2) การได้รับการยกย่อง
                              3) ลักษณะของงานท้าทายความสามารถ
                              4) ความรับผิดชอบ
                              5) ความเจริญเติบโตและความก้าวหน้า
              2. องค์ประกอบที่ป้องกันความไม่พึงพอใจในการทำงาน
                             1) สภาพการทำงาน
                             2) นโยบายของสถานที่ทำงาน
                             3) ความมั่นคงของที่ทำงาน
                             4) สถานภาพของตำแหน่งงาน เงินเดือนและค่าตอบแทน
                             5) ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง

6. ทฤษฎี X และ Y ของดักลาส แมคเกรเกอร์
            ทฤษฎี X เชื่อว่า มนุษย์มีความเกียจคร้าน และต้องการหลีกเลี่ยงการทำงาน ไม่รับผิดชอบ ไม่มีความทะเยอทะยาน ชอบให้มีการสั่งการ ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้บริหารที่มองผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะบริหารงานแบบอัตตาธิปไตย หรือ เผด็จการ ตัดสินใจเองทุกอย่าง ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด
            ทฤษฎี Y เป็นการมองมนุษย์ในแง่ดี มนุษย์เราไม่เพียงแต่มีความรับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังแสวงหาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิด ทักษะการทำงาน ตลอดจนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน มนุษย์ต้องการสั่งการและควบคุมตนเอง เต็มใจที่จะปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ ผู้บริหารคนใดที่เชื่อว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอยู่ในกลุ่มนี้ ก็จะมีแนวทางในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ และเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทำงานอย่างอิสระ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
     7. ทฤษฎีหน้าต่าง 4 บาน ของ โจฮารี ( Johari Window )
         1) ส่วนที่เราเองรู้ คนอื่นก็รู้ เรียกว่า บริเวณเปิดเผย ( พฤติกรรม เจตนาหรือบุคลิกลักษณะที่ทั้งตนเองและผู้อื่นเข้าใจร่วมกัน )
         2) ส่วนที่ตัวเราเองรู้ แต่คนอื่นไม่รู้ เรียกว่า บริเวณซ่อนเร้น ( พฤติกรรมที่ตนเองรู้ดีแต่เก็บซ่อนไว้ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ )
        3) ส่วนที่ตัวเราเองไม่รู้ แต่คนอื่นรู้ เรียกว่า บริเวณจุดบอด ( พฤติกรรมที่ตนเองแสดงออกโดยไม่รู้ตัว แต่ผู้อื่นสังเกตเห็นและรับรู้ได้ )
       4) ส่วนที่ตัวเราเองไม่รู้ คนอื่นก็ไม่รู้ เรียกว่า บริเวณอวิชชา ( พฤติกรรมหรือความรู้สึกที่กระทำไปโดยทั้งตนเองและผู้อื่นไม่รู้
   8. การรู้จักตนเองและเรียนรู้ผู้อื่นตามหลักจิตวิทยาของ Thomas Harris
        1. คนที่ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ( I’m not OK you are OK )
        2. คนที่มองโลกในแง่ร้าย ( I’m not OK you are not OK )
        3. คนที่มองตัวเองดีเลิศ ( I’m OK you are not OK )
        4. คนที่มองทุกคนล้วนแต่พึ่งพาอาศัยกันได้ ( I’m OK you are OK )


 9. ทฤษฎี 3 มิติ ของ เร็ดดิน
        โดยธรรมชาติของมนุษย์มีลักษณะผู้นำพื้นฐานอยู่ในตัว 4 แบบ คือ
        1. แบบมุ่งเกณฑ์ ( Separated ) เป็นแบบอนุรักษ์นิยม ยึดตนเองเป็นที่ตั้ง เจ้าระเบียบ ไม่อยากทำงานร่วมกับผู้อื่น
        2. แบบมุ่งงาน ( Dedicated ) ยึดถืองานเป็นหลัก ขยัน ใจกล้า มีความคิดริเริ่ม ชอบกำหนดงานให้ผู้อื่น ไม่เอาใครไม่มีเพื่อน
        3. แบบมุ่งสัมพันธ์( Related )เน้นมนุษย์สัมพันธ์เป็นหลักในการทำงาน เอาใจคนทุกระดับเป็นกันเองกับทุกคนเน้นคนมากกว่างาน
        4. แบบมุ่งประสาน ( Integrated ) เป็นแบบให้ความสำคัญกับคนและงานไปพร้อมกัน มีศิลปะในการจูงใจ เป็นผู้นำแบบอุดมคติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น