วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเขียนวิสัยทัศน์

การเขียนวิสัยทัศน์ แนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษา  “การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ”
      องค์การ (Organization) คือกลุ่มบุคคลหลายๆ คน ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ การรวมกันของกลุ่มถาวร มีการจัดระเบียบภายในกลุ่มเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละคน ตลอดจนกำหนดระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้ยึดถือปฏิบัติ
      สถานศึกษาเป็นองค์การ แสดงว่า โรงเรียนเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคลอย่างมีระบบ มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการดำเนินงานประสานงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ องค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) กลุ่มบุคคล (Human Grouping) 2) วัตถุประสงค์ (Objectives) หรือเป้าหมาย (Goals)
       การพัฒนาสถานศึกษา คือ ความพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบของสถานศึกษาทุกระบบ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างดี เพื่อให้สถานศึกษาที่ได้รับการปรับปรุงแล้วสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
       “การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ” คือพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทุกระบบของสถานศึกษา โดยมีแผนการดำเนินการ เพื่อให้การศึกษา อบรม สั่งและสอน ให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความรู้คู่คุณธรรม เก่ง ดี มีสุข เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ของโลกและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
        วิธีการพัฒนา “ย่อมเกิดจากเหตุ” แต่ละสถานที่แต่ละโรงเรียนมีบริบทที่ไม่เหมือนกัน หลักการบริหาร หลักการพัฒนา ไม่มีหลักสูตร ทฤษฎีที่ตายตัว แต่อย่างไรก็ตามกรอบที่จะดำเนินการได้ คือ
        1. การพัฒนาคนในสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
            1.1 ผู้ที่ต้องรับการพัฒนา ได้แก่
                  1.1.1 ผู้บริหาร เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนา และต้องพัฒนาให้มากที่สุด
                  1.1.2 คุณครู เป็นหัวใจของกระบวนการผลิต (Process)
            1.2 ส่วนประกอบของการพัฒนา ได้แก่
                  1.2.1 พัฒนาแนวคิด เจตคติ ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียนและร่วมกันสร้างวัฒนธรรมที่ดีในโรงเรียน
                  1.2.2 พัฒนาทักษะ การบริหาร การจัดการ ทักษะการอบรมสั่งสอนให้ได้มาตรฐาน ให้ได้ชื่อว่ามืออาชีพทั้งผู้บริหารและครู
        2. การพัฒนาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการจัดการศึกษา
            2.1 พัฒนาสถานศึกษา ให้ได้มาตรฐานทั้งด้านผู้เรียน ครู และผู้บริหาร ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดภารกิจ กำหนดเป้าหมาย วางแผน กำหนดแผนปฏิบัติการ กำหนดกิจกรรมของโรงเรียน และประเมินผล
            2.2 ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาทั้งระบบ ใช้วงจรพัฒนาของเดรมมิ่ง PDCA
       หลังการดำเนินการพัฒนาทั้ง “คน” และ “เป้าหมาย” แล้วภาพของสถานศึกษา คือ โรงเรียนได้มาตรฐานตามมาตรฐานการศึกษาชาติ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้มาตรฐานของการประเมินภายนอก (สมศ.) ซึ่งเป็นพื้นฐานลำดับแรกที่จะต้องทำให้บรรลุและรักษาคุณภาพเอาไว้ เพื่อประกันในเรื่องคุณภาพ มาตรฐานการปฏิบัติ ต่อผู้ใช้บริการจากโรงเรียน


การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ใช้หลัก 4 RE + 2 สร้าง + 1 เปิด
       1.การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน ( Reprocess )ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้แบบ มุ่งไปสู่การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์การด้วยมิติอะไรบ้างแต่ละหน่วยมีตัวอะไรเป็นตัวชี้วัดผลงานที่เป็นรูปธรรม คือ นอกจากจะวัดว่า ทำอะไรได้บ้างแล้ว ยังจะวัดว่าประชาชนได้อะไรด้วย
        2.การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน และการพัสดุ( Refinance & Budget ) เป็นเรื่องการพัฒนาระบบการจัดทำงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่ายเงินเป็นหลักเพื่อให้ตรวจสอบได้ง่ายและเน้นเป็นเครื่องมือในการวางแผน ดังนั้นงบประมาณจะชี้ให้เห็นถึงวัตถุประสงค์หรือยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา คือทำให้ผู้พิจารณางบประมาณสามารถทราบได้ว่าการจัดสรรงบประมาณนั้นช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ และเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลสัมฤทธิ์ มีการกำหนดเป้าหมายของงานอย่างเป็น รูปธรรม มีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงาน.
        3.การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยม ( Reparadigm )จะมุ่งที่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานและทัศนคติของ ผู้บริหาร ครู จากความคิดความเชื่อเดิม ๆไปเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่านิยมรักศักดิ์ศรี มีจริยธรรม รับผิดชอบต่อผลงาน
        4.การปรับปรุงโครงสร้างบริหารสถานศึกษา ( Reorganised ) มีการปรับปรุงโครงสร้าง เน้นการประสานงานแนวราบที่ชัดเจน
        5.สร้างระบบบริหารบุคคลและค่าตอบแทน โดย การยึดความสามารถและผลงานพัฒนารูปแบบการจ้างงานให้มีความ หลากหลาย
        6.สร้างระบบราชการให้มีความทันสมัย
        7.เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม
        ในสังคมปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัฒน์ มีความสำคัญต่อการแข่งขันทั้งการให้บริการ ทั้งความต้องการ ความรวดเร็ว ความขัดแย้ง ทั้งหมดเกิดจากความไม่พอดี เกิดจากการแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า ความสุข การพัฒนาโรงเรียนให้ได้มาตรฐานดังกล่าวข้างต้น การมีวินัย กาย วาจา ใจดีดี ดังแนวทางที่ว่า “การคิดดี วาจาก็จะดี และการกระทำก็จะดีด้วย” วิธีการขั้นตอนใช้กลยุทธ์ พระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมให้นักเรียน ในการควบคุมกาย วาจา และใจ ไปพร้อมๆ กัน ในทุกเวลาจากง่ายไปยาก จากหยาบไปละเอียด คือ
        1. จัดกิจกรรม สอนฝึก ควบคุมกายให้เดิน ยืน นั่ง และนอน ฝึกความมานะ อดทน มีความเพียร และความพยายาม
        2. จัดกิจกรรมพูดที่ไม่เท็จ ไม่หยาบ ไม่ส่อเสียด และไม่เพ้อเจ้อ
        3. จัดกิจกรรมฝึกใจให้ระงับ สงบ พอดี
       คาดว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดีเก่ง และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตามตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา อย่างยั่งยืน

-----------------------------------------------
ขอบคุณที่มา : http://www.sobdai.com/news-education/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น